Tuesday, February 11, 2014

โรคกรดไหลย้อนกับอาการนอนไม่หลับ


โรคกรดไหลย้อนกับอาการนอนไม่หลับ
สวัสดีครับ
วันนี้จะมาพูดถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการนอนไม่หลับกันบ้างครับ
โรคนี้ก็คือ โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD) หรือเรียกว่า acid reflux

อาการของโรคนี้คือ
1. รู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอก หรือเรียกว่า heart burn
2. รู้สึกแสบคอ หรือคันภายในลำคอ
3. ไอ กลืนอาหารลำบาก

สาเหตุของโรคนี้คือ
1. อาหารที่รับประทาน มีกรดมาก เช่น อาหารรถเผ็ด อาหารที่มีกรดเช่น ยำ หรือผลไม้ที่มีกรดสูง เช่น ส้ม สับปะรด ทานมากเกินไปจะทำให้มีกรดในกระเพาะอาหารมาก น้ำอัดลม ชา กาแฟ ของทอด ของหวานก็มีผลเช่นกัน
2. การทำงานผิดปรกติของกล้ามเนื้อภายในหลอดอาหาร หรือกล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนบนของหลอดอาหาร
3. การใช้ชีวิต เช่น ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอาหารเสร็จแล้วนอนทันที

แล้วโรคนี้เกี่ยวอะไรกับอาการนอนไม่หลับ ?
เนื่องจากอาการของโรคจะมีกรดไหลออกมาบริเวณลำคอ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบคอ คันคอ แน่นหน้าอก อาจระคายคอจนต้องลุกมาไอบ่อยๆ กระสับกระส่ายตัวเนื่องจากแน่นหน้าอก ทำให้นอนไม่หลับ

วิธีรักษา
1. เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร โดยให้ทานอาหารเช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารเผ็ด อาหารรสจัดให้น้อยลง
2. เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ทานอาหารให้ตรงเวลา ทานอาหารแล้วต้องรออย่างน้อย 3-4 ชม. จึงจะเอนตัวลงนอน
หากยังไม่หลาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาหรือผ่าตัดต่อไป


Friday, February 7, 2014

เสียงดนตรีช่วยให้นอนหลับ

เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าคลื่นเสียงและดนตรีที่เหมาะสมมีผลช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
โดยเฉพาะคลื่นเสียงระดับเดลต้า ที่สอดแทรกอยู่ในดนตรีประเภทคลาสสิก เป็นเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งเป็นคลื่นเสียงในช่วงเดียวกับสมองในขณะที่เรานอนหลับ
อันนี้เป็นตัวอย่างเพลงที่มีคลื่นเสียงเดลต้านะครับ ใครนอนไม่หลับลองเปิดกล่อมตัวเองนอนได้เลย (แนะนำให้เสียบหูฟังด้วยก็จะดี)

คลิปวีดีโอ อธิบายระดับของการนอนหลับ

คลิปวีดีโอ อธิบายระดับของการนอนหลับ
1. REM = Rapid Eye Movement ระยะหลับลึก
2. non REM = ระยะหลับตื้น หรือการนอนหลับทั่วๆ ไป
การนอนทั้งคืน ร่างกายจะมีช่วงหลับลึกและหลับตื้นสลับกันไป

Sunday, February 17, 2013

คลายเครียดสำหรับคนนอนไม่หลับ

ขำขันสำหรับคนนอนไม่หลับ 

คลายเครียดสำหรับคนนอนไม่หลับ

Thursday, October 25, 2012

โรคเบาหวานจากสาเหตุการนอนไม่หลับ


นอนไม่หลับเพิ่มความเสี่ยงเบาหวาน

การนอนกลางวันเป็นประจำ รวมถึงการนอนกลางคืนไม่ถึง 6 ชั่วโมง เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานประเภท 2

จากการศึกษาและวิจัย พบว่าคนที่นอนกลางวันมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้แอบงีบ ปัจจัยต่างๆ ที่อาจอยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์นี้ รวมถึงการนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน และความเกี่ยวพันระหว่างการงีบหลับกับกิจกรรมทางร่างกายที่ลดลง

นักวิจัยแจงว่าการงีบหลับตอนกลางวัน อาจส่งผลให้ระยะเวลาการหลับตอนกลางคืนสั้นลง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 2 นอกจากนี้ การหลับกลางวันยังกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนและกลไกในร่างกายที่หยุดยั้งไม่ให้อินซูลินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความโน้มเอียงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2

ดร.เอียน เฟรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไดอะบีตส์ ยูเค กล่าวว่าเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าคนที่น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเยาหวานประเภท 2 นั้น อาจมีปัญหาในการนอนหลับ แต่งานวิจัยใหม่นี้อาจเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการอธิบายความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการนอนหลับไม่สนิทกับโรคเบาหวานประเภท 2

อย่างไรก็ตาม ในแง่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 การนอนหลับไม่สนิทหรือการนอนกลางวันยังคงมีความสำคัญน้อยกว่าปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน การมีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือมีประวัติผู้ป่วยโรคเบาหวานในครอบครัว

ทั้งนี้โรคเบาหวานเป็นอาการร้ายแรงที่อาจนำไปสู่โรคอื่นๆ ในระยะยาว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ตาบอด ไตล้มเหลว และการต้องตัดแขนขา ส่วนอาการระยะสั้น คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่อาจทำให้หมดสติ และระดับน้ำตาลในเลือดสูงถาวรที่อาจถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา

ขณะเดียวกัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโลในนิวยอร์ก ได้นำเสนองานศึกษาต่อที่ประชุมสมาคมหัวใจแห่งอเมริกา ที่ระบุว่าการนอนหลับคืนละไม่ถึง 6 ชั่วโมงอาจะเพิ่มความเสี้ยงโรคเบาหวานประเภท 2 เช่นเดียวกัน

จากการติดตามผลกลุ่มตัวอย่างนาน 6 ปี พบว่า ผู้ที่นอนน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4.56 เท่า ที่จะมีภาวะความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าคนที่นอนดึกคืนละ 6-8 ชั่วโมง

ดร. ลิซา ราฟาลสัน ผู้นำการวิจัยกล่าวว่า งานศึกษาชิ้นนี้ตอกย้ำหลักฐานที่ชี้ถึงความเกี่ยวพันระหว่างการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยมีความเป็นไปได้ที่ฮอร์โมนและระบบประสาทเป็นปัจจัยเบื้องหลังความเกี่ยวพันนี้

ดร.นีล สแตนลีย์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการนอนหลับจากโรงพยาบาลนอร์โฟล์กและนอริชในอังกฤษ เห็นด้วยกับงานวิจัยล่าสุด แต่ตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนนัก แม้มีความเป็นไปได้ว่าการนอนหลับไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงในการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นตามไปด้วยก็ตาม

Tuesday, October 23, 2012

ทางเลือกการรักษาโรคนอนไม่หลับ

มาเรียนรู้วิธีกำจัดโรคนอนไม่หลับกันดีกว่า

เมื่อโรคนอนไม่หลับเข้ามาสิงสถิตอยู่กับผู้ใดผู้หนึ่งนานๆ ทางเลือกแรกๆ ที่คนเหล่านั้นเลือกใช้เห็นจะได้แก่ ยานอนหลับ มีการประมาณการว่า คนอเมริกาถึง 40 ล้านคนเลือกใช้ยานอนหลับเพื่อแก้ไขปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง แม้ว่าคนเหล่านั้นจะรู้ถึงอันตรายอันเนื่องมาจากการใช้ยา หากแต่ก็ยังคงยกเหตุผลอ้างว่าเพราะแพทย์สั่ง หรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ทั้งนี้แพทย์จะไม่สั่งยาให้กับคนไข้เกินความจำเป็น เพราะบรรทัดสุดท้ายของการพึ่งยานอนหลับนั้น นอกจากจะไม่สามารถขจัด Insomnia ได้แล้ว ยังเป็นการทำลายให้ชีวิตอนาคตหายนะอีกด้วย

การเลือกใช้ยานอนหลับ


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่นอนไม่หลับ คุณมีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้ยานอนหลับแต่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ว่า

1. มองว่ายานอนหลับ เป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้น ไม่ควรใช้ติดต่อเกิน 2 สัปดาห์

2. ควรระวังว่าคุณสมบัติของยานอนหลับจะหลอกล่อให้คุณตกเป็นทาสได้ เสมือนหนึ่งติดยา ในที่สุดเมื่อคุณใช้ยาเป็นเวลานานๆ คุณจะต้องการในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

3. เตือนใจตัวเองเลยว่า ยานอนหลับจะช่วยให้คุณหลับ แต่จะเร่งให้โรคนอนหลับที่คุณเป็นอยู่เพิ่มฤทธิ์ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ

4. ยานอนหลับมีส่วนทำลายอวัยวะภายใน

บำบัดแบบไร้ยา

เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในสมองตามกระบวนการทางธรรมชาติ ส่วนหนึ่งของสารเมลาโทนินนั้น เสมือนหนึ่งนาฬิกาที่ใช้ควบคุมการพักผ่อนในยามค่ำคืนของมนุษย์ ก่อนที่ร่างกายจะต้องการนอน 1-2 ชั่วโมงนั้น สารเมลาโทนินจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษ วัดระดับได้ 10-50 ของรอยหยักสมอง ดังนั้นสามารถอุปมาได้ว่าคนที่มีปัญหาการนอนหลับ มักจะพบปัญหาการหลั่งสารเมลาโทนินจะต่ำกว่าระดับมาตรฐาน

ในทางการแพทย์มีการสกัดสารเมลาโทนิน เพื่อช่วยผู้ป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับพ้นจากความทุกข์ทรมาน ผลการทดสอบพบว่า ต้องใช้ฮอร์โมนดังกล่าวในปริมาณ 75 มิลลิกรัม จึงจะสามารถปรับนาฬิกาการนอนให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาวะปกติได้ แม้จะเกรงกันว่าการใช้ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาเองตามธรรมชาติจะทำให้เกิดผลข้างเคียง แต่จากการศึกษาพบว่า มีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาทิ ปวดศีรษะ ไวต่อสิ่งเร้า มีการระคายเคืองเล็กน้อย

อย่างไรก็ตามวิธีข้างต้นไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาคุ้มกันต่ำ โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ผู้ที่ใช้ยาสเตอรอยด์ สตรีที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า



บำบัดด้วยสมุนไพร

เป็นวิธีที่มีเปอร์เซ็นต์ความปลอดภัยสูง เพราะสมุนไพรนับเป็นยารักษาโรคที่มีการคิดค้นและใช้กันมาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณ สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับอย่างมากก็คือ ยาจีน สมุนไพรในแบบอายุรเวทของอินเดียและสมุนไพรในแบบตะวันตก

ด้วยคุณสมบัติของสมุนไพรจะมีธาตุที่เป็นประโยชน์กับร่างกายอยู่แล้ว และที่สำคัญคือไม่มีผลข้างเคียง สมุนไพรที่นิยมใช้เพื่อช่วยในการนอนหลับ เช่น เลมอน ปาล์ม แพชชั่น ฟลาวเวอร์ รากกาว่า และลาเวนเดอร์ เป็นต้น ส่วนปริมาณการใช้นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด ซึ่งจะมีให้เลือกทั้งชนิดแคปซูลหรือการนำมาสกัดเป็นชา



สารสกัดจากดอกไม้

สีสันอันสดสวยของดอกไม้สร้างความสดชื่นให้กับชีวิต กลิ่นของดอกไม้ยังมีพลังที่ช่วยในการบำบัดโรคอีกด้วย การบำบัดด้วยดอกไม้ถูกค้นพบโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด บาซ ชาวอังกฤษ ที่คิดค้นนำกลิ่นของดอกไม้นานาพรรณ มาช่วยในการบำบัดโรค มีทั้งนำมาหยดใส่ลิ้น หรือผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบางครั้งนำมาผสมกับแอลกอฮอลล์เป็นน้ำมันหอมระเหย

แม้ว่าพลังดอกไม้บำบัดจะยังไม่มีหลักฐานการยืนยันในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่การถูกค้นพบและนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ต่างก็ยืนยันถึงประสิทธิภาพที่ดีในการบำบัดโรค โดยเฉพาะการทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น มีการสันนิษฐานว่า แม้ดอกไม้จะไม่ใช่ยา แต่คุณสมบัติของดอกไม้มีผลทางใจที่ช่วยในการรักษาโรคเป็นไปในทิศทางบวก

การฝังเข็ม การกดจุด

เป็นศาสตร์ที่ช่วยบำบัดโรคอันเก่าแก่ของจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี ภายใต้หลักการที่ว่า ร่างกายคนเรานั้นถูกขับเคลื่อนด้วยพลังอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “พลังชี่” และพลังชี่นี่เองที่จะกระตุ้นระบบการทำงานของร่างกายให้สมดุลมีประสิทธิภาพ

เช่นเดียวกับที่ว่า แม้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เข้ามารองรับ แต่การบำบัดโดยวิธีทางนี้มีส่วนช่วยอย่างมากกับคนไข้ โดยเฉพาะในคนไข้ที่ป่วยทางจิต หลายๆ รายมักจะมีอาการดีขึ้นภายหลังการบำบัดรักษา อย่างไรก็ดี หากคุณเป็นโรคนอนไม่หลับ และกำลังมองหาทางรักษาโดยไม่ใช้ยาแล้วละก็ การกดจุดฝังเข็มก็ไม่ใช่ทางเลือกที่เสี่ยงหรือให้ผลลัพธ์แบบเลวร้าย


การออกกำลังกาย

เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า การออกกำลังกายนั้นมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนตัวที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งยังมีผลที่ช่วยให้อาการนอนไม่หลับทุเลาลง เพราะการออกกำลังกายจะสร้างความบันเทิงใจ ชักจูงให้หลุดพ้นไปจากความรู้สึกที่เป็นทุกข์ อย่างไรก็ดีถ้าหากคุณต้องการออกกำลังกายเพื่อช่วยให้นอนหลับได้ง่าย โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนับว่าดีที่สุด เพราะเป็นการกระตุ้นการทำงานโดยตรงของปอดและหัวใจ


การสะกดจิต

มีอำนาจที่จะบันดาลให้คนที่ถูกสะกดจิตตกอยู่ในภวังค์การพักผ่อนชั้นที่ลึกที่สุด สงบและสบาย วิธีนี้จึงใช้ได้ผลดีดีกับผู้ป่วยทางจิต หรือผู้มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าเพราะการสะกดจิตทำให้ผ่อนคลายและสามารถนอนหลับได้ แต่ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง


Tai-Chi หรือ ไท๊เก๊ก

เป็นการออกกำลังกายสไตล์จีนที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน การเคลื่อนไหวจะเนิบๆ เชื่องช้า แต่หนักแน่น เป็นการผสานกันระหว่างการออกท่าทาง การกำหนดลมหายใจและสมาธิเข้าด้วยกัน ประหนึ่งว่าเมื่อระบบทั้งหลายทั้งปวงในร่างกายทำงานได้อย่างมีจังหวะสอดคล้องกันแล้วก็จะช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อถึงขั้นนี้แล้วความรู้สึกอยากหลับตามธรรมชาติก็จะเกิดขึ้น

นวดบำบัด

ศาสตร์ที่ช่วยผ่อนกล้ามเนื้อและจิตใจ การผ่อนคลายดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหลับไปในที่สุด

นอกจากนี้ยังมีวิธีการบำบัดด้วยเสียงเพลงหรือดนตรีบำบัดปฏิบัติง่ายๆ ด้วยการเลือกเพลงที่ชอบและปล่อยใจไปกับเสียงเพลง แต่มีข้อแม้ว่าควรจะเป็นเพลงบรรเลงและไม่ใช่จังหวะที่เร่าร้อนนัก หรือหากศรัทธาในศาสตร์แห่งตะวันออก “โยคะ” ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่มีบรรทัดฐานความเชื่อเช่นเดียวกับ ไท-ชิ ของจีน หรือหากหลงใหลในความอ่อนโยนของดอกไม้ จะเลือกบำบัดสไตล์อโรมาเทอราฟีก็เก๋ดี ตอนนี้กำลังอินเทรนด์ทั่วโลก หรือหาซื้อได้ทั่วๆ ไปไม่ยุ่งยาก

ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าการบำบัดโรคนอนไม่หลับ คือ Insomnia นั้น หากตัดการใช้ยาทิ้ง การบำบัดในทุกๆ ทางล้วนแต่เน้นเพื่อการผ่อนคลายอวัยวะต่างๆ ในร่างกายรวมถึงการผ่อนคลายทางด้านจิตใจ เนื่องจากบรรทัดสุดท้ายที่จะช่วยให้คุณหลับตาลงได้ตามกลไกทางธรรมชาตินั้นขึ้นอยู่กับการผ่อนคลายเป็นหัวใจหลัก

หากคุณผ่อนคลาย จิตใจมีสมาธิ เมื่อนั้นกลไกธรรมชาติก็จะหลั่งสารฮอร์โมน การทำงานก็จะสอดคล้องเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบ คุณก็จะสามารถหลับตาลงได้ภายหลังที่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับวันอันอ่อนล้า

...หากคุณเป็นโรคนอนหลับยากหรือทุกข์ทรมานกับการนอนไม่หลับลองเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งขึ้นมาใช้ มันเวิร์กแน่ๆ เวิร์กแบบไม่ต้องเกรงผลข้างเคียงอีกด้วย....


Sunday, October 21, 2012

คุณเป็นโรคนอนไม่หลับหรือเปล่า ?

คุณเป็นคนหนึ่งที่โดน Insomnia เล่นงานหรือไม่  จะสังเกตุว่าเรากำลังเป็นโรคนอนไม่หลับหรือเปล่า

คำถามต่อไปนี้เสมือนกุญแจที่จะไขปริศนาว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคนอนไม่หลับหรือเปล่า

· คุณตื่นขึ้นมาตอนเช้าด้วยอาการอ่อนเพลียหรือไม่

· คุณรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนในระหว่างวันหรือไม่

· คุณรู้สึกว่าเป็นการยากมากที่จะตั้งสมาธิ เพื่อให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในขณะนั้น

· คุณมีปัญหาเรื่องหลงๆ ลืมๆ บ่อยครั้งหรือเปล่า

ไม่ว่าคุณจะมีอาการอย่างที่กล่าวมา เพียงข้อเดียวหรือหลายข้อ เป็นการบ่งชี้ว่าคุณเข้าข่ายของคนที่นอนไม่หลับ เป็นภัยที่เราต้องเตรียมรับมือ การปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจ อาจทำให้คุณต้องทนทุกข์ทรมาน

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ และอาจจะรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก หากเรายังไม่ป้องกันดูแลสุขภาพของตัวเองและนี่คือตัวปัญหาที่เข้ามารุมเร้าตัวคุณ

1. แอลกอฮอล์

2. บุหรี่

3. การบริโภคโสมสกัดเพื่อสุขภาพ

4. เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

5. ความวิตกกังวล

6. ความอ่อนล้าจากการออกกำลังกายมากเกินไป

7. กินอาหารหนักก่อนนอน
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...